วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

ผีม้าบ้อง-ปอบม้า


ผีม้าบ้อง
เทคนิค : วาดภาพบนกระดาษแต่งภาพ Photoshop


ม้าบ้อง เป็นผีชนิดหนึ่งตามคติความเชื่อของชาวไทยวน เป็นผีจำพวกผีจะกละ หรือผีป่า ม้าบ้องมีรูปลักษณ์ท่อนบนลำตัวเป็นหญิงสาวสวย แต่ท่อนล่างเป็นม้า
ม้าบ้อง โดยปกติจะไม่เห็นตัว แต่อาจจะได้ยินเสียงม้าหรือปรากฏบนรอยเท้าม้าตามพื้นดิน ม้าบ้องจะออกล่อลวงเหยื่อที่เป็นผู้ชาย โดยเฉพาะหนุ่มละอ่อนที่ไม่ประสีประสาในเรื่องทางเพศให้ตามเข้าไปถึงถิ่นที่อาศัยของมัน แล้วฆ่าทิ้งเสีย ซึ่งความเชื่อเรื่องม้าบ้องละม้ายคล้ายกับ เคลปี้ ของเทพปกรณัมนอร์ส, สคิลลา และเซนทอร์ ในเทพปกรณัมกรีก

ลักษณะ  :  เป็นคนที่โดนผีม้าเข้าสิง  และจะเข้าสิงร่างนั้นตลอด  เวลาออกไปหากินตอนกลางคืน  ผีม้าบ้องก็จะแปลงกายเป็นม้าบ้าง  หรืออาจเป็นคนธรรมดาแต่ทำท่าทางเหมือนม้าบ้าง  และจะมีเสียงร้องเหมือนม้า 
อาหาร  :  ผีม้าบ้องชอบกินคาวเลือด  ซากสัตว์  และไข่ 
เรื่องเล่า  :
       ผีม้าบ้องส่วนใหญ่มักจะไม่มีใครพบเห็นมากนะ  เพราะช่วงเวลาตอนกลางคืน  และชาวบ้านก็จะปิดบ้านเงียบไม่ออกไปไหน  มักจะได้ยินแต่เสียงวิ่งดังเหมือนเสียงม้าวิ่ง  ถ้าผ่านบ้านคนที่เป็นรั้วไม้  (สมัยก่อนรั้วบ้านนิยมสร้างเป็นรั้วไม้)  จะได้ยินเสียงรั้วบ้านดังเหมือนรั้วพัง  พอตอนเช้ามารั้วบ้านก็เป็นปกติไม่ได้เสียหายแม้แต่น้อย  ถ้าบ้านใครเกิดลูก  ก็จะมีหมอตำแยมาทำคลอดให้  และล้างคาวเลือดเด็กลงใต้ถุนบ้าน  ส่วนรกเด็กนั้นมักจะเก็บไปฝังดิน  (ลักษณะบ้านสมัยก่อนจะมีใต้ถุนบ้าน  พื้นบ้านจะเป็นไม้เรียงตัวห่างกันเล็กน้อยเพื่อให้สามารถล้างสิ่งของ  หรือกวาดเศษฝุ่นลงไปข้างล่างได้)  พอตกดึก  ถ้ามองลอดผ่านพื้นไม้ลงไปข้างล่างก็จะเห็นผีม้าบ้องมาเลียกินคาวเลือด  ถ้าผีม้าบ้องมาในร่างคนก็จะใช้มือกวาดคาวเลือดแล้วเลียกิน  แต่ถ้าอยู่ในร่างม้าก็จะใช้ลิ้นเลียกินคาวเลือดที่ตกลงไปใต้ถุนบ้าน
       จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า  เคยมีคนในสมัยก่อนเห็นเป็นตัวม้า  วิ่งตอนกลางคืนที่มืดมิด  ต่อมาเมื่อ  พ.ศ.2520  เคยเห็นเป็นรูปร่างคนแต่ทำท่าเหมือนม้า  ชูสองนิ้วทั้งสองข้าง   เอาแนบไว้ข้างศีรษะ  วิ่งไปวิ่งมา  เปล่งเสียงร้องออกมาเหมือนม้า  แล้วก็กลิ้งคลุกฝุ่นไปมา  หลังจากนั้นมาก็ไม่เคยมีใครเห็นอีกเลยนอกจากได้ยินแต่เสียง  จนถึงช่วงปี พ.ศ.  2524  หลังจากนั้นก็ไม่มีใครได้ยินเสียงอีกเลย


เล่าเรื่องถิ่นล้านนา ตอน...ผีม้าบ้อง

       ตำนานหรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับ "ผีม้าบ้อง" เป็นเรื่องเล่าประจำถิ่นเกี่ยวกับผีหรือความเชื่อ ที่ปรากฏในถิ่นล้านนาทางภาคเหนือของประเทศไทย จะว่าเป็น "ผีประจำถิ่นล้านนา" ก็ว่าได้ เพราะในภาคอื่นไม่ปรากฏว่ามีการเล่าถึง โดยผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้ที่เคยพบเจอปรากฏการณ์ผีม้าบ้อง ได้เล่าถ่ายทอดกันมาสู่ลูกสู่หลาน ผู้อยู่ใกล้ชิด  ซึ่งผู้เขียน ครั้งหนึ่งเคยเข้ารับการอบรมที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกี่ยวกับวัฒนธรรม จารีตประเพณี ตลอดจนความเชื่อในถิ่นล้านนา ได้มีการพูดถึงความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับผีล้านนาและเรื่องตำนานผีม้าบ้อง จึงขอเล่าโดยสรุปให้ฟังถึงลักษณะของผีม้าบ้อง ประกอบคำบอกเล่าของผู้เฒ่า ผู้แก่ ในถิ่นแถวภาคเหนือ ถึงลักษณะของผีม้าบ้อง ดังนี้..
       "ผีม้าบ้อง" เป็นลักษณะของคนที่เชื่อว่าโดนผีม้าเข้าสิง และจะอาศัยอยู่ในร่างนั้นตลอด (คล้ายกับผีกะในถิ่นล้านนาหรือผีปอบในถิ่นแถวภาคอีสาน) โดยจะชอบออกหากินเวลากลางคืนหรือช่วงพลบค่ำ     บางครั้งผีม้าบ้องก็จะแปลงกายเป็นม้าบ้าง หากแปลงกายเป็นม้า เราจะได้ยินเสียงฝีเท้าม้า วิ่งกุกกุก กักกัก ประกอบเสียงร้อง ฮี้ๆๆๆ..ของม้า หรืออาจเป็นคนธรรมดาทั่วๆไป แต่ทำท่าทางการแสดงออกหรือกริยาเหมือนม้า เช่นลักษณะการวิ่งเหยาะๆ บางทีก็เอานิ้วมือแนบหู ชูสองข้าง ประกอบการส่งเสียงร้อง ฮี้ๆๆ..เหมือนม้า 
       ผีม้าบ้องชอบกินอาหารที่มีกลิ่นคาว เช่นเลือดสัตว์  คาวเลือดจากรกเด็ก ซากสัตว์ โครงกระดูกวัวควาย และไข่ดิบ 
          หากผีม้าบ้องพบอาหาร ก็จะกินเหมือนม้า โดยจะใช้ลิ้นเลียอาหาร เช่นหากพบโครงกระดูก ผีม้าบ้องก็จะเลียกินจนอิ่ม แล้วก็จะจดจำสถานที่ ที่พบแหล่งอาหารนั้นไว้ หากหิวเมื่อไหร่ มีโอกาสก็จะกลับมาเลียกินอีก เลียกินเสียจนกระดูกเรียบเป็นมัน 

(คุณตาชิน ผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยพบเจอปรากฏการณ์ "ผีม้าบ้อง")
     เมื่อกลางปี 2555 กระผมได้ย้ายมาทำงานที่จังหวัดตาก และได้มีโอกาสคุยกับคุณตาชิน (ขอสวนนามสกุล) ปัจจุบันคุณตาชิน อายุ 65 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลน้ำรึม อำเภอเมือง จังหวัดตาก  ซึ่งโดยนิสัยส่วนตัวของผมชอบฟังและศึกษาเกี่ยวกับวิถีความเชื่อ เรื่องเล่าประเภทนี้อยู่แล้ว พอได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณตาชิน ถึงเรื่องราวของ "ผีม้าบ้อง" ที่ท่านได้เคยมีประสบการณ์สัมผัสมา โดยคุณตาชิน ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวและประสบการณ์เกี่ยวกับผีม้าบ้อง ตามลำดับเรื่องราวพอประติดประต่อได้ว่า...
     
     คุณตาชินเอง ดำรงชีพอยู่ด้วยการเลี้ยงสัตว์และทำปศุสัตว์เล็กๆน้อยๆ ตัวแกเองได้ย้ายมาอาศัยอยู่ในบ้านหลังปัจจุบันนี้ ตั้งแต่ปี 2531 โดยอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้คนเดียว ลักษณะเป็นบ้านไม้หลังเล็กๆ กึ่งกระท่อม ล้อมด้วยรั้วสังกะสี ตอนที่แกมาอยู่ใหม่ๆนั้น ไม่มีแม้ไฟฟ้า หรือประปา  น้ำดื่มน้ำใช้ต้องอาศัยบ่อน้ำผุด(ตาน้ำ) น่าเสียดายปัจจุบันโดนถมที่เพื่อสร้างถนนไปแล้ว ส่วนไฟฟ้า อาศัยแสงสว่างจากตะเกียงน้ำมันก๊าด




 (บ้านคุณตาชินปัจจุบัน ถนนหน้าบ้านกลายเป็นถนนลาดยาง รั้วบ้านยังคงแบบเดิม)
      เมื่อตอนคุณตามาอยู่ใหม่ๆ สภาพภูมิประเทศโดยรอบเป็นป่า มีหญ้าและต้นไม้ขึ้นรก และเป็นเขตสนามบินเก่าของญี่ปุ่นในอดีต สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนนั้นมีบ้านเรือนผู้คนอยู่แค่ 2 หลัง โดยบ้านอีกหลังเป็นหลังเล็กๆ ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามห่างจากบ้านคุณตา ประมาณ 200 เมตร  ถนนหนทางเป็นทางฝุ่นลูกรัง   แทบไม่มียานพาหนะใดวิ่งผ่าน ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาจะใช้การเดินเท้าเป็นหลัก ส่วนตัวคุณตาเองจะใช้รถสามล้อปั่นที่มีกระบะบรรทุกอยู่ด้านหน้า แกเอาไว้ใช้ปั่นไปตลาดในตัวเมืองตาก เพื่อไปรับเศษอาหาร เศษผัก มาให้หมูที่แกเลี้ยงไว้ เป็นกิจวัตรประจำวัน แทบจะกล่าวได้ว่าคุณตาอาศัยอยู่ในย่านนั้นคนเดียวโดดๆก็ว่าได้ เพราะนานๆที แกถึงจะได้มีโอกาสพบเจอกับเพื่อนบ้าน
     คุณตาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการพบเจอ "ผีม้าบ้อง" (ซึ่งตัวคุณตาเองแกเรียกว่า "ผีกะม้าบ้อง")....ว่า    ในค่ำคืนวันหนึ่ง เป็นวันกลางพรรษา และเป็นวันโกน(วันโกน คือ วันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ 1 วัน วันพระ คือ วันขึ้น 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ และวันแรม 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ ของทุกเดือน หรือวันแรม 14 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาดหลังจากที่ได้สุมไฟไล่แมลง ไล่ยุง ให้กับ วัว ควายและต้มข้าวให้หมูในเล้าของแกแล้ว แกก็ทำธุระส่วนตัว แล้วก็เตรียมตัวจะเข้านอน  สมัยก่อนนั้นเวลากลางคืนหรือช่วงพลบค่ำจะมืดมาก เนื่องจากไม่มีแสงสว่างจากไฟฟ้า จะมีก็เพียงแสงสว่างจากดวงจันทร์ หรือกองไฟทีแกก่อสุมไฟไล่สัตว์ หรือก็แสงสว่างดวงเล็กๆ จากตะเกียงน้ำมันก๊าดของแกเอง 
     ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 2ทุ่มกว่าๆ ความสงบเงียบในยามค่ำคืน จะมีก็เพียงเสียงสะบัดหางเพื่อไล่ยุงหรือแมลงของวัวควายที่แกเลี้ยงไว้ หูสองข้างของคุณตาก็ได้ยินเสียงอะไรบางอย่าง ดังถนัดชัดเจน เป็นเสียงฝีเท้าคล้ายกับลักษณะการวิ่งของม้า วิ่งเหยาะ กุบกับ กุบกับ พร้อมกับเสียงร้อง ฮี้ๆ ครางอยู่ในลำคอของมัน วิ่งผ่านหน้าบ้านของคุณตา แล้วก็ค่อยๆหายเงียบไปในช่วงสุดถนน ซึ่งเป็นรอยต่ออีกหมู่บ้านหนึ่ง แต่คุณตาเองก็ไม่ได้สนใจอะไร คงเข้ามุ้งนอนตามปกติ ซึ่งผมได้สอบถามคุณตาแล้ว แถวนั้นมีบ้านชำแหละเนื้อสัตว์ส่งตลาดในเมือง หรือชาวบ้านเรียกว่า..เขียงเนื้อ ผมสงสัยว่าคงจะมี ซากโครงกระดูกสัตว์ถูกกองทิ้งอยู่ในหลุมแถวๆนั้น ซึ่งเป็นอาหารของผีม้าบ้อง
     คืนวันต่อมา เวลาไล่เลี่ยกัน คุณตาก็ได้ยินเสียงลักษณะแบบเดียวกันอีกนั้นอีก ได้จังหวะที่คุณตายืนบนชานแคบๆหน้าบ้านพอดี จึงได้ชะโงกส่องสายตาออกไปดู ซึ่งคุณตาแกเองก็ไม่มีไฟฉายใช้ ภาพที่เห็นบวกกับแสงสลัวๆ จากดวงจันทร์ คุณตาเห็นลักษณะสัตว์คล้ายม้า ตัวสีดำใหญ่ทะมึน วิ่งเหยาะๆ ส่งเสียงร้องผ่านไป โดยไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดขี่บนหลังของมัน ผมได้สอบถามกับคุณตาถึงพฤติกรรมของมัน ซึ่งแกเองเล่าว่า..เมื่อมองดูมัน มันก็วิ่งไปตามปกติของมัน ไม่ได้สนใจอะไร  และไม่มีปฏิกิริยาคุกคามแต่อย่างใด ผมก็ถามว่า ทำไมคุณตาไม่ตะโกนเรียกมัน.....แกบอกว่า ตัวแกเองก็ไม่ได้สนใจอะไร แค่เพียงอยากรู้ว่าเสียงที่ได้ยินนั้นคือเสียงอะไรเท่านั้นเอง ผมก็คิดว่า..หากคุณตาตะโกนเรียกมัน มันคงไม่ทำอะไรคุณตาหรอก เพราะไม่ใช่ศัตรูของมัน แต่..เมื่อผีม้าบ้องรู้ว่า มีคนสงสัยและเรียกมัน มันคงไม่โผล่มาให้เห็นอีกแน่ๆ คุณตาแกเองก็คิดว่า คงเป็นม้าของใครที่ไหนซักที่ ที่หลุดคอกออกมาแล้วคงวิ่งวนเวียนหาทางกลับบ้าน แต่..คิดแล้ว ก็คงเป็นไปได้ยากเพราะละแวกแถวนั้น ไม่มีผู้ใดเลี้ยงม้าเลย แถมม้าก็เป็นสัตว์มีราคาแพงด้วย กอปรกับแกก็ไม่เคยเห็นใครจูงม้าหรือขี่ม้าผ่านหน้าบ้านเลย แม้กระทั่งในตัวเมืองตาก     
      คุณตาได้เล่าต่อว่า.. รุ่งเช้าแกได้ลุกมาทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ พอเสร็จแล้วจึงได้ออกมาดูร่องรอยฝีเท้าของม้าตัวนี้ แต่แกก็ไม่เห็นแม้แต่รอยเท้าม้า แม้รอยเดียว ทั้งที่ม้าก็ตัวใหญ่ทึนทึกอย่างนั้น ถนนก็เป็นทางผงฝุ่น บางวันก็เปียกเพราะฝนตก แต่ก็ไม่ปรากฏรอยเท้าม้าเลย ทั้งที่มันเองก็วิ่งผ่านตั้งหลายครั้ง หลายคืน

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา คุณตาชินเองก็ได้สัมผัสกับปรากฏการณ์ผีม้าบ้องมาตลอด แต่สับเปลี่ยนเวลาการปรากฏ จากพลบค่ำเป็นช่วงเวลาประมาณ 4-5 ทุ่มบ้างแต่เป็นที่น่าแปลกประหลาด แกบอกว่าจะได้พบเจอก็เฉพาะช่วงเวลาในวันโกน ระหว่างกลางพรรษาเท่านั้น ก่อนพรรษาหรือหลังพรรษา จะไม่มีโอกาสได้พบเจอเลย จวบจนกระทั่งความเจริญเข้ามา ถนนหนทางกลายเป็นถนนลาดยาง ตาน้ำผุดถูกกลบถม ประชาชนเริ่มเข้ามาอยู่หนาแน่นขึ้น ผืนป่าถูกทำลาย ปรากฏการณ์ผีม้าบ้องจึงสูญหายไป เหลืออยู่เพียงแค่เป็นเรื่องเล่า ที่ผมได้จดบันทึกอยู่ในครั้งนี้นี่เอง

โดยความคิดส่วนตัวของผมแล้ว ผมคิดว่าผีม้าบ้องก็คือผีม้าหรือวิญญาณของม้า นั่นเอง เนื่องด้วยในสมัยก่อน "ม้า" มีบทบาทในการศึกสงครามอยู่ไม่น้อย เสียชีวิตแบบทรมานด้วยคมหอก คมดาบ แบบอารมณ์เจ็บปวด ทุกข์ ทรมาน จิตวิญญาณจึงยังคงอยู่ในห้วงอารมณ์แห่งความเจ็บปวด ความเคียดแค้นพยาบาท เป็นการตายแบบยังไม่ถึงคราว หรือที่เราเรียกกันว่า ตายโหง จิตวิญญาณจึงกลายเป็นสัมภเวสี ล่องลอยชดใช้กรรมอยู่จนกว่าจะหมดกรรม ได้ไปผุดไปเกิดใหม่ 


 ปัจจุบันนี้ ไม่มีการใช้ม้าทำศึกสงครามกันแล้ว ปรากฏการณ์ผีม้าบ้องยุคปัจจุบัน จึงไม่มีใครได้พบเห็น หรือหากจะมีโอกาสพบเห็นก็คงจะน้อยครั้งมาก บางทีคนที่พบอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า..นั่นคือ...."ผีม้าบ้อง"

ตำนานผีล้านนาตอนผีม้าบ้อง
                                "บ่าวเฒ่าหรือชายโสดเมื่อตายแล้ววิญญาณเป็นผีม้าบ้อง" 
ตำนานผีม้างบ้องล้านนามีหลายกระแส บ้างก็ว่า เป็นผีก้ะที่แก่มากๆจนกลายเป็นผีม้าบ้อง   บางตำนานก็ว่าเป็นผีที่ชอบแทะกินหัวควายแห้ง ก็แล้วแต่บางท้องถิ่นจะสืบสานเล่าขานกันไป แต่ที่แน่ๆคือมีคำว่าผีม้าบ้องเป็นคำเรียกชื่อผีเหมือนๆกัน
สำหรับตำนานนี้อาจแปลกกว่าที่อื่นอยู่บ้างเริ่มตั้งแต่ มีครอบครัวตุ๊กต้ะครอบครัวหนึ่งอยู่กันสวามพ่อแม่ลูก เฝ้าคอกม้าของพระราชา  ต่อมาเมื่อพ่อแม่เสียชีวิต เหลือแต่ลูกชายที่ขยันขันแข็งตระหนี่แม้แต่หัวควายที่ตายแล้วเขาเอามท้องเขาก็ไปแทะเอาเนื้อมากิน ด้วยความที่มัวแต่หากินตลอดชีวิตกลายเป็นบ่าวเฒ่าหรือชายโสดจนสิ้นชีวิต
เมื่อตายไปวิญญาณของเขานึกได้ว่าเมื่อเป็นคนไม่ได้แต่งงานไม่รู้รสชาติของการมีครอบครัวแม้กระทั่งตายก็ไม่มีใครมาดูแลศพ   ด้วยความคิดดังกล่าวเกิดความอิจฉาริษยาเด็กหนุ่มที่เรียกกันว่า " บ่าวแถ่ว"หรือเด็กชายเริ่มขึ้นหนุ่มเสียงห้าวนั่นเอง  เมื่อกลายเป็นผีก็แอบไปเที่ยวตอนกลางคืนกับชายหนุ่มตามหมู่บ้าน  แต่ถ้าคืนวันไหนแสงเดือนมัวหม่นสลัวๆ  และผีม้าบ้องเกิดอารมณ์คึกเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์บ้องมันแข็ง  มันก็จะวิ่งอืนกะหลึ้กๆ...ไปมาตามถนนหนทางในหมู่บ้านหากพบเห็นบ่าวแถ่วเมื่อใดผีม้าบ้องก็เกิดความอิจฉาจะใช้เท้าดีดหว่างขาบ่าวแถ่วจนหน้าเขียวเกิดอันตราย
ด้วยฤทธิ์เดชผีม้าบ้องดังกล่าวผู้ใหญ่จึงสั่งสอนเด็กชายแรกรุ่นขึ้นหนุ่มหรือเรียกกันว่า "บ่าวแถ่ว"  ห้ามออกนอกบ้านยามกลางคืน หากจะเที่ยวต้องไปกับหนุ่มใหญ่ที่มีประสบการณ์แอ่วสาวมาแล้วหากพบผีม้าบ้องก็จะได้ช่วยกันขับไล่
เรื่องผีม้าบ้องจึงเป็นตำนานของชาวล้านนาป้องกันเด็กชายแรกรุ่นหรือบ่าวแถ่วหนีออกนอกบ้านไปเที่ยววามกลางคืนได้ดีแท้
ตำนานผีล้านนา "เรื่องผีม้าบ้อง"

เป็นตำนานผีของชาวล้านนาที่เล่าขานกันมาช้านาน มีลักษณะคล้ายครึ่งคนครึ่งสัตว์ ตอนเด็กๆพ่อมักจะเล่าให้ฟังเสมอ ในคืนเดือนมืดผีม้าบ้องมักจะออกวิ่งตามกองหน้อย (ถนนแคบๆ) บางทีก็วิ่งกรีดรั้วไม้สะลาบ (รั้วที่สานขัดลายสอง)เคยมีคนได้ยินเสียงแต่ไม่เห็นตัว หรือ หากพบใครก็จะเข้าทำร้าย เรื่องผีม้าบ้องมีหลายตำนาน

บางตำนานกล่าวว่าผีม้าบ้องก็คือผีกละที่มีพลังแก่กล้า สามารถแปลงกายเป็นผีม้าบ้องได้ บางตำนานก็ว่าผีม้าบ้องชอบเลียกินหัวควายแห้ง หรือชอบกินไข่ไก่ถ้าใครไปพบ ก็ต้องรีบวิ่งหนีทันที ถ้าผีม้าบ้องมาใกล้ก็รีบโยนไข่ให้ผีม้าบ้องกิน เมื่อถึงบ้านให้ปิ้น(กลับ)บันไดทันที

มีเรื่องที่เล่าสืบกันมา มีชายหนุ่มคนหนึ่งเป็นเพื่อนกับผีม้าบ้องที่แปลงร่างมาเหมือนคนปกติโดยชอบไป แอ่วสาว(จีบสาว)กลางคืนด้วยกันเสมอ พอไปแอ่วสาวกลับมาชายที่เป็นผีม้าบ้องมักจะขอแวะลงข้างทางทุกที จนเขาสงสัย

อีกวันต่อเขาจึงไปสำรวจที่ผีม้าบ้องแวะ มองเห็นหัวควายที่ชาวบ้านฆ่าแล้วเอาทิ้งมีรอยถูกเลียกิน เขาจึงรู้ว่าเพื่อนคนนี้เป็นผีม้าบ้อง ชายหนุ่มคนนั้นจึงเอาพริกไปทาที่หัวควายแห้ง พอตกกลางคืนผีม้าบ้องก็มาชวนเขาไปแอ่วสาวอีก ขากลับก็ขอแวะลงข้างทางอีก

พอผีม้าบ้องเข้าไปเลียหัวควาย ก็รู้สึกเผ็ดร้อน จึงโกรธแค้นมาก ร่างกายก็กลับไปเป็นผีม้าบ้อง แผดร้องด้วยเสียงอันดังแล้ววิ่งตามหาชายหนุ่มคนนั้นหวังจะฆ่าให้ตาย ชายหนุ่มวิ่งหนีมาแต่ผีม้าบ้องวิ่งไวมากก็ตามมาทัน ชายหนุ่มจึงโยนไข่ไก่ให้ ผีม้าบ้องก็กินไข่เมื่อเขาวิ่งมาถึงบ้านพอขึ้นบ้านเขาก็รีบกลับบันไดเอาด้าน ล่างขึ้นข้างบน ผีม้าบ้องตามขึ้นไปไม่ได้ เรื่องเหล่านี้ได้ถูกเล่าถ่ายทอดกันมานาน ไม่สามารถพิสูจน์ว่ามีจริงหรือไม่
ตำนานผีเหนือ : ผีม้าบ้อง 
บ่าวเฒ่าหรือชายโสดเมื่อตายแล้ววิญญาณเป็นผีม้าบ้อง ตำนานผีม้าบ้องล้านนามีหลายกระแส บ้างก็ว่า เป็นผีกะที่แก่มากๆจนกลายเป็นผีม้าบ้อง   บางตำนานก็ว่าเป็นผีที่ชอบแทะกินหัวควายแห้ง ก็แล้วแต่บางท้องถิ่นจะสืบสานเล่าขานกันไป แต่ที่แน่ๆคือมีคำว่าผีม้าบ้องเป็นคำเรียกชื่อผีที่เหมือนๆกัน

สำหรับตำนานนี้อาจแปลกกว่าที่อื่นอยู่บ้างเริ่มตั้งแต่ มีครอบครัวครอบครัวหนึ่งอยู่กันสามคนพ่อแม่ลูก เฝ้าคอกม้าของพระราชา  ต่อมาเมื่อพ่อแม่เสียชีวิต เหลือแต่ลูกชายที่ขยันขันแข็งตระหนี่แม้แต่หัวควายที่ตายแล้วเขาก็เอาไปแทะเอาเนื้อมากิน ด้วยความที่มัวแต่หากินตลอดชีวิตกลายเป็นบ่าวเฒ่าหรือชายโสดจนสิ้นชีวิต

เมื่อตายไปวิญญาณของเขานึกได้ว่าเมื่อเป็นคนไม่ได้แต่งงานไม่รู้รสชาติของการมีครอบครัวแม้กระทั่งตายก็ไม่มีใครมาดูแลศพ   ด้วยความคิดดังกล่าวเกิดความอิจฉาริษยาเด็กหนุ่มที่เรียกกันว่า " บ่าวแถ่ว"หรือเด็กชายเริ่มขึ้นหนุ่มเสียงห้าวนั่นเอง  เมื่อกลายเป็นผีก็แอบไปเที่ยวตอนกลางคืนกับชายหนุ่มตามหมู่บ้าน  แต่ถ้าคืนวันไหนแสงเดือนมัวหม่นสลัวๆ  และผีม้าบ้องเกิดอารมณ์คึกเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์บ้องมันแข็ง  มันก็จะวิ่งอืนกะหลึ้กๆ...ไปมาตามถนนหนทางในหมู่บ้านหากพบเห็นบ่าวแถ่วเมื่อใดผีม้าบ้องก็เกิดความอิจฉาจะใช้เท้าดีดระหว่างขาบ่าวแถ่วจนหน้าเขียวเกิดอันตราย

ด้วยฤทธิ์เดชผีม้าบ้องดังกล่าวผู้ใหญ่จึงสั่งสอนเด็กชายแรกรุ่นขึ้นหนุ่มหรือเรียกกันว่า "บ่าวแถ่ว"  ห้ามออกนอกบ้านยามกลางคืน หากจะเที่ยวต้องไปกับหนุ่มใหญ่ที่มีประสบการณ์แอ่วสาวมาแล้วหากพบผีม้าบ้องก็จะได้ช่วยกันขับไล่

เรื่องผีม้าบ้องจึงเป็นตำนานของชาวล้านนาป้องกันเด็กชายแรกรุ่นหรือบ่าวแถ่วหนีออกนอกบ้านไปเที่ยววามกลางคืนได้ดีแท้

ถ้าเจอจริงๆให้ท่องคาถานี้

นะโมพุทธายะ มะพะ ทะนะ ภะ กะ สะ จะ 
สัพเพทวาปีสาเจวะ อาฬะวะกาทะโยปิยะ 
ขัคคัง ตาละปัตตัง ทิสวา สัพเพยักขา 
ปะลายันติ สักกัสสะ วะชิราวุธัง 
เวสสุวัณณัสสะ คะธาวุธัง 
อะฬะวะกัสสะ ทุสาวุธัง 
ยะมะนัสสะ นะยะนาวุธัง 
อิเมทิสวา สัพเพยักขา ปะลายันติ 

ลักษณะของผีม้าป้อง
ลักษณะที่มีคือ หัวเป็นคนตัวเป็นม้า ตอนกลางวันจะเป็นคนปกติ

เหตุที่ทำให้ติดอาการผีม้า
เมื่อใดที่เราไปเที่ยวบ้านของเขา(ตอนกลางวัน)แล้วกินข้าวร่วมกันครบ3ครั้ง เราก็จะกลายเป็นผีม้า

วิธีป้องกัน
ให้ใช้ไม้คานบ้าน หรือที่เปิ้นเรียกว่า ไม่สวก ฟาดผีม้า ผีม้าจะกลัวและหนีไป หรือไม่ก็ท่องคาถาตามที่ให้ไปตอนแรก
เรื่องเล่าอีกอันหนึ่ง ได้ระบุลักษณะของผีม้าบ้องไว้อย่างสมบูรณ์ว่ามีลักษณะ เป็นม้าดำสูงใหญ่มาก มักควบแล่นไปมาในหมู่บ้าน หากเด็กคนใดดื้อชอบลงจากบ้านตอนกลางคืน ผีม้าบ้องจะหลอกล่อให้เด็กคนนั้นขี่หลัง หากสำเร็จ ก็จะเอาไปไว้ที่เมืองผี ไม่ได้กลับมาเห็นหน้าพ่อ-แม่อีกเลยส่วนต่อไปเป็นนิทานที่เกี่ยวกับผีม้าบ้อง....
มีชายหนุ่ม 2 คน ชื่อ แก้ว กับ คำ ทั้งสองคนรักสาวหมู่บ้านเดียวกัน ตอนกลางคืนก็มักจะเดินทางไปหาสาวด้วยกันเสมอ(หนุ่มสมัยก่อนจะไม่เที่ยวสาวตอนกลางวัน เพราะกลางวันเป็นเวลาทำมาหากิน) 
เมื่อไปถึงสวนร้างแห่งหนึ่ง ไอ้แก้วจะแวะเข้าไปในสวนทุกวันแล้วบอกให้ไอ้คำไปก่อน มันจะตามไป ไอ้คำสงสัยว่าไอ้แก้วไปทำไมที่สวนร้างทุกวันวันหนึ่ง ตอนกลางวันไอ้คำจึงแวะไปดูที่สวนร้าง พบกะโหลกควายอันหนึ่งถูกเลียจนเลื่อมแผล็บ ไอ้คำเห็นดังนั้นจึงกลับไปตำพริกขี้หนูมาทาหัวควายตกดึก...เมื่อถึงเวลาไปเที่ยวสาว ไอ้แก้วก็แวะเข้าสวนเหมือนเดิม ไอคำก็ล่วงหน้าไปก่อนเหมือนเดิม สักพักก็ได้ยินเสียงฝีเท้าคึกๆ ไล่ตามมา  พอหันหลังกลับไปดูก็เห็นม้าดำตัวสูงใหญ่วิ่งไล่ตามมามันคือ "ผีม้าบ้อง"ไอ้คำวิ่งไปจนถึงบ้านสาว พ่อสาวเอาไข่รังหนึ่งมาเสกแล้วเอาให้ไอ้คำเอาไป ไอ้คำวิ่งกลับบ้านอย่างไม่คิดชีวิต ส่วนผีม้าบ้องก็ไล่ตามอย่างไม่ลดละ แต่พอจะไล่ทันก็โยนไข่ให้ใบหนึ่ง ผีม้าย้องกลับไปสนใจไข่แทน ทำอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งไข่หมดรัง ก็ถึงบ้านพอดีไอ้คำรีบกลับขึ้นบ้านแล้วพลิกเอาบันไดข่างลบลงล่างทันที ผีม้าย้องก็วิ่งวนเวียนอยู่รอบๆบ้าน พร้อมกับพูดว่า "เรือนนี้ไม่ใช่ ขั้นได้บ่แม่น เรือนนี้ใช่ ขั้นไดบ่แม่น"รุ่งเช้า ไอ้คำไปหาไอ้แก้ว พบว่าไอ้แก้วกลายเป็นม้าดำนอนตายอยู่ในที่นอนแล้วนิทานเรื่องนี้ผู้ใหญ่มักจะเสริมเติมแต่งให้ดูน่ากลัวกว่านี้ก็ได้ เพื่อที่จะให้เด็กๆ ในสมัยนั้นไม่ดื้อ หรือเที่ยวเล่นจนเกินไป

ตำนานผีม้าบ้อง__
เป็นตำนานที่มีเรื่องราว ดังนี้
ผีม้าบ้อง เป็นตำนานผีของคนไทยเหนือ
ซึ่งมีการวิวัฒนาการดังนี้
เริ่มต้นที่ผีเม็ง
ผีเม็งผีกละหงอนผีม้าบ้อง

โดยตำนานนี้มีเรื่องเล่ามาว่า
มีครอบครัวหนึ่งอยู่กันสามพ่อแม่ลูก เฝ้าคอกม้าของพระราชา ต่อมาเมื่อพ่อแม่เสียชีวิต เหลือแต่ลูกชายที่ขยันขันแข็งตระหนี่แม้แต่หัวควายที่ตายแล้วขาก็ไปแทะเอาเนื้อมากิน ด้วยความที่มัวแต่หากินตลอดชีวิตกลายเป็นบ่าวเฒ่าหรือชายโสดจนสิ้นชีวิต
เมื่อตายไปวิญญาณของเขานึกได้ว่าเมื่อเป็นคนไม่ได้แต่งงานไม่รู้รสชาติของ การมีครอบครัวแม้กระทั่งตายก็ไม่มีใครมาดูแลศพ ด้วยความคิดดังกล่าวเกิดความอิจฉาริษยาเด็กหนุ่มที่เรียกกันว่า ” บ่าวแถ่ว”หรือเด็กชายเริ่มขึ้นหนุ่มเสียงห้าวนั่นเอง เมื่อกลายเป็นผีก็แอบไปเที่ยวตอนกลางคืนกับชายหนุ่มตามหมู่บ้าน แต่ถ้าคืนวันไหนแสงเดือนมัวหม่นสลัวๆ และผีม้าบ้องเกิดอารมณ์คึกเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์บ้องมันแข็ง มันก็จะวิ่งอืนกะหลึ้กๆ…ไปมาตามถนนหนทางในหมู่บ้านหากพบเห็นบ่าวแถ่วเมื่อ ใดผีม้าบ้องก็เกิดความอิจฉาจะใช้เท้าดีดหว่างขาบ่าวแถ่วจนหน้าเขียวเกิด อันตราย
ด้วยฤทธิ์เดชผีม้าบ้องดังกล่าวผู้ใหญ่จึงสั่งสอนเด็กชายแรกรุ่นขึ้นหนุ่มหรือเรียกกันว่า “บ่าวแถ่ว” ห้ามออกนอกบ้านยามกลางคืน หากจะเที่ยวต้องไปกับหนุ่มใหญ่ที่มีประสบการณ์แอ่วสาวมาแล้วหากพบผีม้าบ้องก็จะได้ช่วยกันขับไล่เรื่องผีม้าบ้องจึงเป็นตำนานของชาวล้านนาที่ใช้เป็นข้ออ้างให้เด็กหนุ่มแรกรุ่นหรือบ่าวแถ่วหนีออกนอกบ้านไปเที่ยวยามกลางคืนได้ดี
ผีม้าบ้องมีลักษณะคล้ายกับม้า สีของลำตัวโดยมากจะเป็นสีหม่น
สถานที่ผีม้าบ้องชอบวิ่งเข้าออกจะเป็นตรอกซอกซอยแคบๆ คนเมืองเรียกว่า “คลองหน้อย” หรือวิ่งไปตามลำเหมืองที่ไม่มีน้ำ ระหว่างที่ผีม้าบ้องวิ่ง คนที่มีบ้านอยู่แถวนั้นจะได้ยินเสียงดังคล้ายกับเสียงวิ่งของวัวควาย มีคนเคยเห็นผีม้าบ้อง แต่ไม่มีใครเคยเห็นหมดทั้งตัว บางคนจะเห็นส่วนข้าง บางคนเห็นเพียงส่วนก้น ว่ากันว่าถ้าคนไปเจอผีม้าบ้อง คนจะถูกทำร้ายหรือครอบงำ “อำ” หรือจะทำให้ป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ ร่างกายจะผอมเหลืองไปทีละน้อย และเสียชีวิตในที่สุดมีคนที่เคยพบกับความน่ากลัวของผีม้าเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า คืนหนึ่งได้ไปแอ่วสาว (คือการไปเที่ยวจีบสาวในเวลากลางคืน ตามประเพณีของคนล้านนาในอดีต) ที่เป็นสายผีกละ ทั้งๆ ที่รู้แล้วแต่ก็อยากจะลองดู ในระหว่างที่นั่งคุยกับสาวอยู่นั้น เขาสังเกตเห็นว่ามีนกฮูกบินโฉบไปมาระหว่างหลังคาเรือนกับต้นไม้ในบริเวณนั้น และส่งเสียงร้องด้วย ตกดึกก็ยังมีเสียงสั่นสะเทือนของเสาเรือน คล้ายกับมีวัวควายวิ่งชนเบาๆ ทั้งที่บ้านหลังนั้นไม่ได้เลี้ยงวัวควายไว้ใต้ถุน หนุ่มคนนั้นจึงไม่กล้าลงจากบ้านคนเดียว ต้องรอเพื่อนๆ ที่กลับจากการแอ่วสาวผ่านมาจึงกลับบ้านได้ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เขาไม่ไปที่บ้านนั้นอีก
ซึ่งผีม้าบ้องจะติดต่อในตระกูลเดียวกัน แต่นอกจากจะติดต่อกันทางเครือญาติแล้ว ยังติดต่อกันได้กับคนนอกตระกูลอีกด้วย ถ้าชายหรือหญิงใดที่แต่งงานกับคนที่เป็นสายตระกูลผี เมื่อได้กินข้าวร่วมไหเดียวกันครบ 7 ไห ก็จะเป็นสายผีในตระกูลนั้นอย่างเต็มตัว
ส่วนศัตรูของผีม้าบ้องคือ นกฮูก ซึ่งถ้าเราได้ยินเสียงนกฮูกร้องในตอนกลางคืน นั่นคือเสียงเตือนว่ามีผีม้าบ้องวิ่งมา

ผีม้าบ้อง เกิดจากปาฏิหาริย์ของผีกละนั่นเอง เมื่อผีกละมีพลังแก่กล้าจะแปลงกายให้คล้ายกับม้า สีของลำตัวโดยมากจะเป็นสีหม่น คนโบราณได้เล่าต่อกันมาว่า ผีกละจะเข้าสิงร่างเจ้าของผีหรือคนในตระกูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย มักจะเลือกออกในคืนเดือนมืดหรือข้างแรม โดยการพับแขนทั้ง 2 ข้างแนบกับตัว หันด้านศอกไปข้างหน้า สมมุติให้เป็นหูของม้า ใช้ผ้าขาวม้าผูกเอวให้เหลือชายไว้ข้างหลัง สมมุติให้เป็นหาง แล้ววิ่งออกไป สถานที่ผีม้าบ้องชอบวิ่งเข้าออกจะเป็นตรอกซอกซอยแคบๆ คนเมืองเรียกว่า "คลองหน้อย" หรือวิ่งไปตามลำเหมืองที่ไม่มีน้ำ ระหว่างที่ผีม้าบ้องวิ่ง คนที่มีบ้านอยู่แถวนั้นจะได้ยินเสียงดังคล้ายกับเสียงวิ่งของวัวควาย มีคนเคยเห็นผีม้าบ้อง แต่ไม่มีใครเคยเห็นหมดทั้งตัว บางคนจะเห็นส่วนข้าง บางคนเห็นเพียงส่วนก้น ว่ากันว่าถ้าคนไปเจอผีม้าบ้อง คนจะถูกทำร้ายหรือครอบงำ "อำ" หรือจะทำให้ป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ ร่างกายจะผอมเหลืองไปทีละน้อย และเสียชีวิตในที่สุด

มีคนที่เคยพบกับความน่ากลัวของผีม้าเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า คืนหนึ่งได้ไปแอ่วสาว (คือการไปเที่ยวจีบสาวในเวลากลางคืน ตามประเพณีของคนล้านนาในอดีต) ที่เป็นสายผีกละ ทั้งๆ ที่รู้แล้วแต่ก็อยากจะลองดู ในระหว่างที่นั่งคุยกับสาวอยู่นั้น เขาสังเกตเห็นว่ามีนกฮูกบินโฉบไปมาระหว่างหลังคาเรือนกับต้นไม้ในบริเวณนั้น และส่งเสียงร้องด้วย ตกดึกก็ยังมีเสียงสั่นสะเทือนของเสาเรือน คล้ายกับมีวัวควายวิ่งชนเบาๆ ทั้งที่บ้านหลังนั้นไม่ได้เลี้ยงวัวควายไว้ใต้ถุน หนุ่มคนนั้นจึงไม่กล้าลงจากบ้านคนเดียว ต้องรอเพื่อนๆ ที่กลับจากการแอ่วสาวผ่านมาจึงกลับบ้านได้ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เขาไม่ไปที่บ้านนั้นอีก

การติดต่อสืบสายของผีกละ นอกจากจะติดต่อกันทางเครือญาติแล้ว ยังติดต่อกันได้กับคนนอกตระกูลอีกด้วย ชายหรือหญิงใดที่แต่งงานกับคนที่เป็นสายตระกูลผี เมื่อได้กินข้าวร่วมไหเดียวกันครบ 7 ไห ก็จะเป็นสายผีในตระกูลนั้นอย่างเต็มตัว 

สรุปได้ว่า ผีเม็ง ผีเม็งน้ำร้า ผีกละ ผีกละหงอน และผีม้าบ้อง เป็นผีที่แตกแขนงมาจากต้นผีเดียวกันคือผีเม็ง เดิมคงรับมาจากคนมอญลำพูน หรือมอญในประเทศพม่า ที่อยู่ของผีคือในหม้อดินเผาปากแคบ (หม้อต่อม) ปิดปากหม้อด้วยผ้าขาว ลักษณะของผีตามที่เล่าต่อกันมา มีรูปคล้ายกับส่วนบนของไก่ เป็นผีที่ช่วยคุ้มครองเจ้าของและสมาชิกในครัวเรือน มีธรรมเนียมว่าต้องทำพิธีฟ้อนผี 3 ปีต่อครั้ง ถ้าไม่เลี้ยงดูให้ดีผีจะออกหากินเอง จึงเรียกว่า ผีกละ หรือถ้าเจ้าของไปทะเลาะกับเพื่อนบ้าน ผีจะโกรธแทน จะไปเข้าสิงคนๆ นั้น เมื่อถูกหมอผีบังคับ ถ้าทนไม่ได้จริงๆ จะบอกชื่อคนที่เป็นเจ้าของ เมื่อผีมีพลังแก่เต็มที่ผีกละจะมีหงอนที่ศีรษะคล้ายกับหัวของไก่ เรียกว่า ผีกละหงอน เมื่อเข้าสิงคนจะออกยาก เพราะหงอนของผีจะติดค้างอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งของคน เมื่อมีพลังแก่กล้าจะสามารถแปลงกายเป็นม้า เรียกว่า ผีม้าบ้อง ชอบวิ่งเข้าออกตามซอยเล็กๆ หรือตามลำเหมืองที่ไม่มีน้ำในเวลากลางคืน โดยมากจะเป็นคืนเดือนมืดหรือคืนข้างแรม ศัตรูของผีกละคือนกฮูก (นกเค้า) จะคอยร้องเตือนให้คนทราบว่าผีกละไปทางไหน จึงเรียกนกเค้าชนิดนี้ว่า "นกเค้าผีกละ" บุคคลผู้ใดอยู่กินกับคนในตระกูลผีนี้ ถ้าได้ร่วมกินข้าวไหเดียวกันเกิน 7 ไห ผู้นั้นจะเป็นผี กละและเป็นสายผีเดียวกันไปด้วย 

ขอบคุณข้อมูลจาก
  • นิทานล้านนา - ผีม้าบ้อง (นิทานของชาวไทยวน)
  • http://www.oknation.net/blog/vampire-knight/2007/12/19/entry-1ผีม้าบ้อง-เซนทอร์เมืองเหนือ
  • สมาคมเล่าเรื่องลึกลับ อาถรรพ์ และเวทมนตร์
  • http://www.sri.cmu.ac.th/~elanna/elanna47/public_html/lang/lang41_4.htmlวรรณกรรมมุขปาฐะล้านนา
  • http://shock.mthai.com/inter-shock/1559.html เรื่องสยองผีม้าบ้อง ตำนายผีอันน่ากลัวของชายไทยวน
  • http://lannaghost.blogspot.com/2011/08/blog-post_10.htmlผีม้าบ้อง
  • http://travelpangsida.blogspot.com/2014/04/blog-post.htmlเล่าเรื่องถิ่นล้านนา ตอน...ผีม้าบ้อง
  • https://www.gotoknow.org/posts/147787ตำนานผีล้านนาตอนผีม้าบ้อง
  • http://www.chiangraifocus.com/2010/knowledge.php?id=33นิทานล้านนา - ผีม้าบ้อง ( นิทานของชาวไทยวน)
  • http://muslimchiangmai.net/index.php?topic=10087.0ตำนานผีล้านนา "เรื่องผีม้าบ้อง"
  • http://www.gun.in.th/2010/index.php?topic=59641.0ตำนานผีเหนือ : ผีม้าบ้อง
  • http://writer.dek-d.com/kenji2554/story/view.php?id=679424ตำนานผีพื้นเมืองเหนือ : ผีม้าบ้อง


4 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณที่ให้เครดิตครับ กับ บล็อก..ร้อยป่า ร้อยเรื่องราว หลากเรื่องเล่า ..http://travelpangsida.blogspot.com/2014/04/blog-post.html

    ตอบลบ
  2. เรื่องเล่ายังมีอีกมากมายครับ อัพทุกเดือน ไปจริงทุกเดือน

    ตอบลบ
  3. พี่ครับทางอำเภอแม่สะเรียงยังมีอยู่นะครับ เมื่อ 2-3 เดือนก่อนยังมีคนในหมู่บ้านเห็นอยู่เลย

    ตอบลบ
  4. แถวบ้าน ชาวบ้านยังเจอกันอยู่บ่อยๆค่ะ ชอบออกมาตอนดึกสงัดตีหนึ่งตีสอง มันน่ากลัวกว่าที่คิด.

    ตอบลบ